ปูนปลาสเตอร์ใช้ทำอะไรได้บ้าง

ปูนปลาสเตอร์ใช้ทำอะไรได้บ้าง

 

ปูนปลาสเตอร์ คือ ปูนที่มีเนื้อเป็นผงสีขาว และมีเนื้อละเอียด ผลิตจากแร่ยิปซั่ม มีลักษณะเป็นผงสีขาว มีคุณสมบัติ ต้านทานความร้อนและไฟ เมื่อผสมกับน้ำแล้วใช้เวลาไม่นานในการแข็งตัว

 

ปูนปลาสเตอร์ เมื่อผสมกับน้ำจะได้น้ำปูนหนืดหรือเหลว ก่อนนำไปใส่แม่พิมพ์เพื่อขึ้นรูปตามต้องการ ซึ่งจะได้ผลิตภัณฑ์ที่มีสีขาว และมีน้ำหนักเบาเมื่อเทียบกับการใช้ปูนชนิดอื่น เนื่องจากเนื้อปูนมีความพรุนตัวสูง

 

ปูนปลาสเตอร์กับการก่อสร้าง

ในอดีตมีการนำปูนปลาสเตอร์มาฉาบผนังในตัวอาคารเพื่อลดความร้อนจากภายนอก ช่วยป้องกันการติดไฟเนื่องจากเมื่อมีความร้อนสูงจากไฟปูนปลาสเตอร์จะมีการคลายน้ำออกมาช่วยลดการแพร่กระจายของไฟ และเพื่อความสวยงามเพราะสีขาวของปูนปลาสเตอร์ ปัจจุบันมีการนำแผ่นฝ้ายิปซั่มมาใช้แทนการฉาบลักษณะเดิมซึ่งแผ่นฝ้ายิปซั่มก็ผลิตจากแร่ยิปซั่มเช่นกัน

 

ปูนปลาสเตอร์ใช้ในการหล่อโลหะ

ปูนปลาสเตอร์สามารถออกแบบรูปร่างได้ตามต้องการ เมื่อแข็งตัวปูนปลาสเตอร์จะแข็งแรงทนทาน ทนต่อความร้อน ไม่ดูดน้ำ ไม่คายน้ำ จึงเหมาะสำหรับงาน เท หล่อโลหะ เช่น งานหล่อทองเหลือง

 

ปูนปลาสเตอร์ใช้ในสถาปัตยกรรม

ในอดีตและปัจจุบันมีการใช้ปูนปลาสเตอร์ในการตกแต่งงานสถาปัตยกรรมอย่างกว้างขวาง เช่น รูปปั้นต่างๆ เสาโรมัน

 

ปูนปลาสเตอร์กับงานปั้นของตกแต่ง

ปูนปลาสเตอร์เป็นที่นิยมสำหรับงานปั้นของเล็กๆ เช่น กระปุกออมสิน ตุ๊กตาระบายสี แจกันดอกไม้ และของตกแต่งอื่นๆอีกหลายชนิด

 

ปูนปลาสเตอร์ใช้ในการแพทย์

ปูนปลาสเตอร์ถูกใช้อย่างกว้างขวางในการทำเฝือก ไม่ว่าจะเป็นเฝือกอ่อนหรือเฝือกแข็ง ด้วยคุณสมบัติที่มีน้ำหนักเบา แข็งแรง ช่วยดามส่วนที่เสียหายอย่างถูกต้อง และยังสามารถใช้ในงานทันตกรรมได้อีกด้วย

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกท่านนะครับ หากท่านใดสนใจปูนปลาสเตอร์คุณภาพดีสามารถติดต่อสอบถามได้ทางช่องทางติดต่อทางด้านล่างได้เลยครับ ยินดีให้คำปรึกษาไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ

 

ชนิดปูนปลาสเตอร์ตามลักษณะการใช้งาน

 

คุณสมบัติของปูนปลาสเตอร์ที่ดี

  1. เนื้อปูนเป็นผงละเอียด ไม่จับตัวเป็นก้อน
  2. เนื้อปูนปลาสเตอร์เมื่อผสมน้ำจะต้องมีการถ่ายความร้อนออกมา
  3. เป็นปูนที่ต้องใช้น้ำในการผสมน้อย แต่เนื้อปูเหลว และไหลลื่นดี
  4. สามารถอุ้มน้ำในเนื้อปูนให้ไว้ได้นานตลอดช่วงก่อนที่จะทำงานเสร็จ ไม่ใช่เนื้อปูนแห้งเร็วในขณะที่งานยังไม่เสร็จ
  5. เมื่อเนื้อปูนแห้งหรือแข็งตัว เนื้อปูนควรมีการขยายตัวน้อยหรือคงที่ให้มากที่สุด
  6. เนื้อปูนปลาสเตอร์มีการแข็งตัวในเวลาที่พอเหมาะ ไม่เร็ว หรือช้าเกินไป ซึ่งปกติใช้เวลาแข็งตัวประมาณ 5-10 นาที
  7. เนื้อปูนปลาสเตอร์ไม่ทำปฏิกิริยากับแม่พิมพ์ที่รุนแรงหรือทำให้แม่พิมพ์เสื่อมตัวเร็วเกิน

 

การผสมปูนปลาสเตอร์

1.การผสมด้วยมือ

เป็นวิธีผสมปูนปลาสเตอร์ที่ใช้เนื้อปูนไม่มาก ซึ่งมักใช้ในงานประดิษฐ์หรือขึ้นรูปผลิตภัณฑ์เพียงไม่กี่ชิ้นงาน และมีขนาดของชิ้นงานที่ไม่ใหญ่หรือมีน้ำหนักมากจนเกินไป อาทิ การขึ้นรูปตุ๊กกระตา หรือ งานปูนปั้นขนาดเล็กต่างๆ

2.การผสมด้วยเครื่องติดใบพัด

เป็นวิธีการผสมปูนปลาสเตอร์ในถังผสมที่ติดใบพัดสำหรับกวนผสมปูนกับน้ำ ซึ่งมักใช้ในงานที่มีการขึ้นรูปหรือประดิษฐ์ชิ้นงานขนาดใหญ่ โดยพัดพัดกวนจะวิ่งด้วยความเร็วรอบต่ำ เพื่อป้องกันฟองอากาศแทรกตัวในเนื้อปูน และบางครั้งอาจต้องใช้การกวนด้วยมือต่อเพื่อไล่ฟองอากาศออกให้หมดก่อนนำมาใช้งาน

3.การผสมด้วยเครื่องกวนสูญญากาศ

เป็นการผสมปูนปลาสเตอร์ในถังกวนขนาดใหญ่ที่มักใช้งานในระดับอุตสาหกรรมหรือการผลิตชิ้นงานจำนวนมากหรือมีขนาดใหญ่ โดยการกวนจะเกิดขึ้นภายใต้สภาวะที่ไร้อากาศด้วยเครื่องดูดอากาศออกขณะกวนผสม ทำให้เนื้อปูนที่ได้ไม่มีฟองอากาศแทรกตัวในเนื้อปูน ซึ่งทำให้ทำเนื้อปูนมีความละเอียด และมีคุณภาพสูง

 

ติดต่อเรา

ยินดีให้คำปรึกษา ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ

 

Business Hours

Monday-Saturday : 8:00-17:00

Sunday : Closed

 

เอกสารอ้างอิง

1) www.th.wikipedia.org. ปูนปลาสเตอร์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2559. เข้าถึงได้ที่ https://th.wikipedia.org/wiki/ปูนปลาสเตอร์/

2) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. บทที่1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับปูนปลาสเตอร์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2559. เข้าถึงได้ที่ http://elearning.nsru.ac.th/web_elearning/ceramic/lesson1.php/