ข้าวกล่อง งานประชุม

ข้าวกล่อง งานประชุม – อาหารถือเป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งในชีวิตประจำวันของมนุษย์เราและยิ่งในยุคที่เกิดวิกฤต covid-19 จึงทำให้การใช้ชีวิตเปลี่ยนไปในช่วงนี้หลายๆคนจึงหันมา ใช้บริการอาหารแบบเดอริเวอรี่ เพื่อความสะดวกสบายไม่ต้องออกไปข้างนอกเสี่ยงโรค ยิ่งมีงานเลี้ยงหรือจัดงานประชุมก็สามารถโทรสั่งได้ ตามความต้องการของลูกค้าเอง เราจึงเห็นความสำคัญของ การทำอาหารกล่องที่มีคุณภาพสดใหม่อยู่ตลอดเวลา ราคาจับต้องได้ และการบรรจุภัณฑ์ที่สะดวกต่อการรับประทานอีกด้วย

 

การประชุม

การประชุมจะมีบุคคลในการเข้าร่วมตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปเพื่อเข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและนำข้อยุติมาใช้ประโยชน์ร่วมกันพิจารณาปัญหาและหาแนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมการทำงานเป็นทีม

สถานที่การประชุม

การเลือกสถานที่จัดอบรมการสัมมนามีทั้งในบริษัทและนอกสถานที่ ถือเป็นเรื่องสำคัญของบริษัทสามารถบ่งบอกได้ ถึงศักยภาพของบริษัทนั้นๆ ตามความเหมาะสมของจำนวนสมาชิก เพื่อสร้างแรงจูงใจในการมีส่วนร่วมเข้าอบรม เพราะเหตุนี้การเลือกสถานที่จึงเป็นอีกเหตุผลที่จะบอกถึงความมั่นคงและประสิทธิภาพขององค์กรอีกด้วย

 

ประเภทของการประชุม

1.การประชุมเพื่อแจ้งให้ทราบ เน้นชี้แจงหรืออธิบายรายละเอียด นโยบาย คำสั่ง

2.การประชุมเพื่อขอความคิดเห็น เน้นการและเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อนำไปพิจารณาหาข้อยุติต่างๆ ต่อไป

3.การประชุมเพื่อหาข้อตกลงร่วมกัน เน้นอภิปรายเพื่อหาข้อตกลงเรื่องใดเรื่องหนึ่งร่วมกัน

4.การประชุมเพื่อหาข้อยุติ เน้นอภิปรา แสดงความคิดเห็นเพื่อหาข้อยุติหรือแนวทางการแก้ไขปัญหา

 

บทบาทในการประชุม
ในการประชุมแต่ละครั้ง จะต้องมีผู้ได้รับมอบหมายให้มีบทบาทต่างๆ ในการประชุมเพื่อให้การประชุมส าเร็จ
ลุล่วงตามเปูาหมาย ซึ่งบทบาทในการประชุมมีดังนี้
1. ผู้ดำเนินการประชุมหรือผู้นำการประชุม มีหน้าที่ดึงกลุ่มให้มุ่งไปที่ประเด็นเดียวกัน
2. ผู้จดรายงานการประชุม ทำหน้าที่บันทึกสิ่งที่เกิดขึ้นในการประชุม
3. ผู้บันทึกขึ้นกระดาน หากมีการอภิปรายในที่ประชุม ให้มีผู้บันทึกขึ้นกระดาน เพื่อให้ทุกคนได้เห็นและ
อภิปรายได้อย่างต่อเนื่อง
4. ผู้รักษาเวลา ทำหน้าที่รักษาเวลาให้เป็นไปตามวาระการประชุม
5. ผู้ควบคุมบรรยากาศ ในบางครั้งมีการประชุมถกเถียงกัน ผู้ควบคุมบรรยากาศควรดูแลการประชุม
6. สมาชิกผู้เข้าร่วมในการประชุม สมาชิกต้องแสดงความคิดเห็น และรับฟังความคิดเห็นของผู้อ่านเช่นกัน

บทบาทผู้เข้าร่วมการประชุมที่ดี
1. ต้องมาเข้าร่วมประชุมให้ทันเวลา
2. ต้องน าส าเนาการประชุมครั้งที่แล้ว ก าหนดการประชุมครั้งใหม่ และเอกสารที่เกี่ยวข้องติดตัวมาด้วย
3. หากการประชุมยังไม่เริ่ม ก็ควรนั่งรอในที่ประชุม ไม่ควรเดินไปเดินมา เพราะหากทุกคนเดินเข้าเดินออก
จะท าให้การประชุมเริ่มได้ยาก
4. หากต้องการพูดชี้แจง ควรยกมือขออนุญาตประธาน
5. ชี้แจงด้วยความสุภาพ กระชับ และชัดเจน
6. ควรปิดอุปกรณ์สื่อสารในที่ประชุม
7. แม้เราไม่เห็นด้วยกับมติที่ประชุม ก็ควรยอมรับเสียงส่วนใหญ

 

จัดการกับตัวป่วนในที่ประชุม
1. พวกที่ชอบผูกขาดการพูด ชอบขัดจังหวะผู้อื่น พูดเรื่อยเปื่อยไปมา ให้ผู้น าการประชุมขัดจังหวะเขาด้วย
การเชิญให้คนอื่นแสดงความคิดเห็น
2. พวกที่ชอบดึงความสนใจ ชอบเรียกร้องความสนใจ ให้ผู้น าการประชุมทบทวนวัตถุประสงค์ของการ
ประชุม และถามค าถามที่ให้ค าตอบไม่หลุดออกจากประเด็น
3. พวกที่ชอบแอบซุบซิบ ให้ผู้น าการประชุมขอให้เขาเหล่านั้นแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆบ้าง
4. พวกที่ช่างสงสัย วิพากษ์วิจารณ์สิ่งที่คนอื่นพูด ให้ผู้น าการประชุมดึงกลับมายังประเด็นและให้ผู้อื่นพูดแทน

 

 

6 เทคนิคที่ช่วยให้การประชุมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

                    ไม่ว่าจะเป็นพนักงานระดับปฏิบัติการหรือผู้บริหาร การประชุมเป็นสิ่งที่คนทำงานทุกคนต่างต้องเจอ โดยการประชุมแต่ละครั้งก็มีจุดประสงค์ที่แตกต่างกันไป เช่น เพื่อการเสนอหรือแบ่งปันข้อมูลและความคิดเห็น เพื่อตัดสินใจเรื่องสำคัญบางอย่าง หรือเพื่อสรุปงานต่างๆ ซึ่งจะดีกว่าไหม ถ้าเราใช้เทคนิคดีๆ มาจัดการให้การประชุมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่ต้องเสียเวลาไปกับการพูดคุยหรือหารือกันทั้งวัน ดังต่อไปนี้

1. มีวาระการประชุมที่ชัดเจน

นอกจากวัน เวลา และสถานที่สำหรับการประชุมแล้ว ทุกครั้งที่ส่งคำเชิญเข้าร่วมประชุม ต้องไม่ลืมที่จะแนบรายละเอียดวาระและวัตถุประสงค์ หรือหัวข้อต่างๆ ที่จะพูดคุยในที่ประชุมไปด้วย และหากเป็นไปได้ ก็ควรจะระบุด้วยว่าแต่ละคนที่ได้รับคำเชิญเข้าประชุมมีหน้าที่รับผิดชอบประเด็นไหนเป็นพิเศษหรือไม่ เพื่อจะได้เตรียมตัวให้พร้อมก่อนเข้าร่วมการประชุม

2. จัดการเวลาให้ดี

เรื่องเวลาเป็นเรื่องที่หลายคนมักจะละเลยทั้งที่สำคัญมาก เพราะจะส่งผลต่อเวลาในการทำงานของคนที่เข้าร่วมประชุม เวลาที่ระบุไว้ในคำเชิญคือเวลาที่จะต้องเริ่มต้นการประชุม ดังนั้นจึงควรเผื่อเวลาในการเดินไปที่ห้องประชุม และเผื่อเวลาสำหรับเตรียมอุปกรณ์ที่จะต้องใช้ในการประชุม เช่น คอมพิวเตอร์ โปรเจคเตอร์ ไมโครโฟน หรือสัญญาณอินเทอร์เน็ต

ในระหว่างประชุมก็ต้องระวังเรื่องการพูดคุยเรื่องอื่นๆ ที่นอกเหนือจากวาระการประชุมจนมากเกินไป เพื่อให้การประชุมจบลงตรงตามเวลาที่กำหนดไว้ นอกจากเรื่องตรงเวลาแล้วการกำหนดเวลาประชุมให้เหมาะสมก็สำคัญเช่นกัน การที่ใช้เวลามากไม่ได้หมายความว่าการประชุมจะออกมามีประสิทธิภาพเสมอไป ผู้ที่จัดการประชุมจึงควรพิจารณาให้ดีว่าการประชุมแต่ละครั้งควรใช้เวลาสั้นหรือยาวแค่ไหน

3. เชิญเฉพาะคนที่จำเป็นต้องเข้าประชุมจริงๆ เท่านั้น

บางคนอาจคิดว่าการเชิญคนในทีมที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมด้วยทุกคนเป็นสิ่งที่สมควรทำ แต่ในความเป็นจริงแล้วบางคนอาจไม่จำเป็นต้องเข้าประชุมด้วยเสมอไป ซึ่งจะทำให้เขาเสียเวลาในการทำงานไปโดยใช่เหตุ ทุกครั้งที่จัดการประชุมเราจึงควรเลือกเฉพาะคนที่จำเป็นจริง ๆ เท่านั้น

4. เปิดโอกาสให้ทุกคนในที่ประชุมมีส่วนร่วม

ในการประชุม ทุกคนในที่ประชุมควรมีโอกาสได้พูดคุย แสดงความคิดเห็น หรือถามข้อสงสัยต่างๆ เพราะการที่มีเพียงคนใดคนหนึ่งผูกขาดการพูด หรือเสนอความเห็นอยู่เพียงคนเดียว อาจเป็นการปิดกั้นและทำให้เสียโอกาสที่จะได้ข้อมูลหรือไอเดียใหม่ๆ

5. เลือกสถานที่ให้เหมาะสม

บ่อยครั้งที่การประชุมมักจะเกิดขึ้นในสถานที่เดิมๆ ห้องประชุมเดิมๆ ที่อาจไม่เหมาะสำหรับการประชุมในบางหัวข้อ หรือไม่เหมาะกับคนบางกลุ่ม ซึ่งอาจลดประสิทธิภาพในการประชุมลง จึงควรปรับเปลี่ยนสถานที่ประชุมดูบ้าง เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ หรือให้เหมาะกับคนที่เข้าร่วมประชุม และหัวข้อที่ต้องพูดคุยกัน เช่น เลือกสถานที่ที่จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจได้สำหรับการประชุมที่นัดขึ้นเพื่อคิดโปรเจกต์ใหม่

6. สรุปรายละเอียดอีกครั้งก่อนปิดการประชุม

เมื่อวาระการประชุมต่างๆ จบลงแล้ว 5 – 10 นาทีสุดท้ายก่อนปิดการประชุมควรจะมีการสรุปถึงสิ่งที่เพิ่งพูดคุยไปในที่ประชุมอีกครั้ง และอาจมีการจ่ายงานให้กับผู้เข้าร่วมประชุมแต่ละคนให้ชัดเจน ทั้งรายละเอียดและระยะเวลาของงานแต่ละชิ้น

การจัดเตรียมอาหารเลี้ยงพนักงาน

เรื่องของอาหารในการจัดเลี้ยงพนักงานก็จะมีทั้งอาหารคาว ของหวานและเครื่องดื่ม บริษัทจึงต้องจัดหาอาหารที่สะดวกอย่างข้าวกล่องเพื่อความสะดวกต่อการจัดเตรียมให้แก่พนักงาน และยังสามารถเลือกได้หลายหลายเมนูดังนี้

จัดเบรค-อาหารว่าง

1.แซนวด์วิช+มันบด

2.ขนมจีบหมู

3.ขนมจีบกุ้ง

4.เกี๊ยวซ่าทอด

5.ขนมปังหน้าหมู

อาหารเจ

1.ก๋วยเตี๋ยวหลอด (เจ)

2.ข้าวคะน้าหมูกรอบ (เจ)

3.ข้าวคั่วกลิ้งโปรตีนเกษตร (เจ)

4.ข้าวจับฉ่าย (เจ)

5.ข้าวฉู่ฉี่เต้าหู้ (เจ)

6.ข้าวต้มยำเจเห็ดรวม (เจ)

7.ข้าวผัดผักรวมมิตรเต้าหู้ (เจ)

8.ข้าวผัดฟักทอง (เจ)

9.ข้าวผัดห้าเซียน (เจ)

10.ข้าวฟองเต้าหู้คั่วพริกเกลือ (เจ)

11.ข้าวใบเหลียงผัดเต้าหู้ (เจ)

12.ผัดหมี่ซั่วเจ (เจ)

13.ยากิโซบะผัด (เจ)

14.ยำเห็ดรวม (เจ)

15.ติ่มซำ (เจ)

 

 

 

 

ของหวาน

  1. ขนมปังนึ่งสังขยา

2.บัวลอยนมสด

3.เต้าฮวยนมสด

4.ขนมสตรอว์เบอร์รีลอยแก้ว

5.พานาคอตต้า มะม่วง

6.พานาคอตต้า สตอเบอรี่

7.ขนมกล้วยบวชชี

8.ข้าวเหนียวมะม่วง

9.ขนมแคนตาลูปลอยแก้ว

 

 

 

 

 

เครื่องดื่ม

ชานมไต้หวัน (320 ml)

ชาเขียวมัทฉะข้าวคั่วญี่ปุ่น(ไม่หวาน) (320 ml)

น้ำผึ้งมะนาว (320 ml)

น้ำส้มยูซุ (320 ml)

น้ำเก๊กฮวย (320 ml)

น้ำแอปเปิ้ล (320 ml)

น้ำช็อคโกแลต (320 ml)

อาม่า บ้อกมีเมนูหลากหลายให้ลูกค้าได้เลือกสรร สามารถรับเดอร์ได้มาถึง 1,000 กล่อง ทำตามความต้องการของลูกค้าเน้นความสดใหม่ติดต่อได้ที่ https://armabox.net หรือทัก line @armabox ไม่ว่าจะเป็นงานจัดเลี้ยง ประชุม งานบุญ อาม่าบ้อกยินดีอย่างยิ่งที่ ได้เป็นส่วนหนึ่งในการทำอาหารอร่อยๆให้แก่ลูกค้าทุกท่าน

กลับสู่หน้าหลัก –  savecyber