สุดยอด 10 ศิลปินอาเซียน Asean Selection 2018

10 ศิลปินอาเซียน

10 ศิลปินอาเซียน เสน่ห์ของงานหัตถกรรมสิ่งทอ เป็นมากกว่าความสวยงาม แต่เรื่องราวที่มันซ่อนอยู่ในผลงานนั้น น่าสนใจยิ่งกว่า เพราะเรื่องของหัตถกรรม ถือเป็นสิ่งที่ตกทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น จึงมีคุณค่า และน่าจะเป็นวัฒนธรรมอีกอย่างที่แสดงความเป็นเอกลักษณ์ของผู้คนและชุมชนได้เป็นอย่างดี

ดังเช่นผลงานของศิลปินอาเซียน 10 ประ เทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย บรูไน ลาว เมียนมา กัมพูชา เวียดนาม และฟิลิป ปินส์ ที่เป็นสุดยอดผลงานเล่าเรื่องราวอันแฝงไปด้วยตัวตนของความเป็นชุมชน เชื้อชาติ ศิลปวัฒนธรรมของพวกเขา ผ่านผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้นในรูปแบบต่างๆ ถูกจัดแสดงในนิทรรศการสุดยอดอาเซียน (ASEAN SELECTIONS 2016) จัดขึ้นโดย ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT ภายใต้หัวข้อ Innovative Craft Of Textiles in ASEAN : Ethnic Accents ที่ถ่ายทอดแนวคิด แรงบันดาลใจ เทคนิค การผลิตผลงานหัตถกรรมที่ผสมผสานความเป็นนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์ในนิทรรศการ รวมถึงผลงานของ Uehara Michiko ศิลปินสิ่งทอชาวญี่ปุ่น เจ้าของผลงานหัตถกรรมสิ่งทอการสาวเส้นไหม ที่ทอได้บางที่สุดในโลก และได้ลงบันทึกไว้ในกินเนสส์บุ๊ก

สุพัตรา ศรีสุข ที่ปรึกษาศูนย์ส่งเสริมศิลปา ชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า การจัดงาน ASEAN SELECTIONS 2016  ต่อเนื่องจากปีแรกที่จัดขึ้นเมื่อปี 2558 ปีที่ประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จึงได้มีการจัดกิจกรรมที่สอดคล้อง ปีที่แล้วนิทรรศการเน้นในเรื่องของการออกแบบสร้างสรรค์ที่แสดงเอกลักษณ์ อัตลักษณ์บางอย่าง ในชุมชน สังคมอาเซียน ออกมาสู่สายตาประชาชนทั่วไป อันเป็นแนวทางสอดคล้องกับ Craft Trends หรือทิศทางงานฝีมือ และเชื่อมโยงมาสู่ ASEAN SELECTIONS ในปีนี้ โดยมีการนำสุดยอดผลงานด้านการออกแบบผ้า ของศิลปินทั้ง 10 ประเทศมาจัดแสดง ซึ่งผลงานแต่ละชิ้นน่าสนใจตรงที่สิ่งที่ศิลปินถ่ายทอดและสื่อสารไปถึงผู้ชม เรื่องราวบางอย่างที่ผู้สร้างสรรค์งานอยากบอก และเป็นสิ่งสำคัญที่มาก่อนการมองหาความสวยงาม เพราะบ้านเมืองของเขามีความแตกต่างกัน และนำสิ่งที่มี หรือสิ่งที่เป็นมาผสมผสานให้เกิดสิ่งใหม่ หรือเรื่องราวใหม่ๆ คาดว่าน่าจะเป็นแนวทางในการชี้นำการออกแบบแก่นักออกแบบอีกหลายๆ คน และเป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม วิถีชีวิต แนวความคิด ความเชื่อ ของผู้คนในแต่ละประเทศ ซึ่งผลงานของศิลปินทั้งหมด ไม่ใช่แค่เรื่องผ้าเท่านั้น แต่ก็ยังคงให้ความสำคัญกับงานหัตถกรรมที่มีผ้ามาเกี่ยวข้องในบางผลงาน ที่แฝงเรื่องเล่าเอาไว้ในตัวผลงาน

ส่วนสำคัญในหัตถกรรมสิ่งทอผ้า คือเส้นใยที่ถูกนำมาจัดเรียงให้กลายเป็นผ้าผืนหนึ่ง โดยศิลปินชาวญี่ปุ่น ยูเอฮารา มิชิโกะ (Uehara Michiko) ผู้ที่หลงใหลในเส้นใยไหม และเป็นผู้ที่สามารถสาวเส้นไหม ทอผ้าได้บางที่สุดในโลก ซึ่งผลงานที่ว่าทอได้บางที่สุดก็ถูกนำมาจัดแสดงในนิทรรศการนี้ด้วยเช่นกัน

ยูเอฮารา มิฃิโกะ เธอเล่าถึงความเป็นมาก่อนที่เธอจะสนใจการทอผ้าว่า เธอสนใจสินค้าพื้นเมือง โดยเฉพาะผ้า เพราะผ้าถือเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญต่อมนุษย์โดยตลอด เป็นส่วนช่วยห่อหุ้มร่างกายเปรียบเสมือนผิวหนังอีกชั้นหนึ่ง ผ้าพื้นเมืองที่เธอเคยเห็นในบ้านเกิดโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น คือแรงบันดาลใจที่ทำให้เธอได้หันมาทอผ้า เพราะผ้าพื้นเมือง รวมถึงสินค้าพื้นเมือง อื่นๆ แสดงให้เห็นถึงอาณาจักร ประวัติศาสตร์ เรื่องราว วัฒนธรรมดั้งเดิมที่มีอยู่ และอาจจะหาดูได้ยาก ผลงานการทอผ้าของเธอส่วนใหญ่แล้วจะเป็นผ้าคลุมไหล่ที่มาจากเส้นใยไหม การทอแม้ใช้เส้นใยที่มีความหนาแบบปกติ แต่ด้วยเทคนิคการทอเฉพาะตัว ทำให้การทอไปเรื่อยๆ ก็จะทำให้เนื้อผ้าเริ่มลดขนาดความหนาลงมา  จนกระทั่งได้ผ้าที่บางและหนักเพียงแค่ 3 กรัมเท่านั้น สิ่งสำคัญ ผ้าของเธอใช้เทคนิคการย้อมสีในอุณหภูมิที่ต่างกัน ทำให้เป็นผ้าที่มีลักษณะโทนสีแตกต่างกัน ไล่จากสีเข้มไปยังอ่อน

ส่วนผลงานอื่นๆ ของศิลปินอาเซียนทั้ง 10 คน ถือเป็นสุดยอด มีทั้งผลงานที่เกี่ยวกับผ้าที่เป็นชุดสวมใส่โดยตรง และการออกแบบเชิงหัตถกรรมให้เป็นผลงานในรูปแบบอื่นที่แตกต่าง ดังเช่นผลงานของ Ken Samudio ศิลปินจากฟิลิปปินส์ กับ

ผลงานเครื่องประดับแฟชั่นที่ได้คอนเซ็ปต์มาจากธรรมชาติและรูปทรงธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล สำหรับคอลเลคชั่น Sirens 2.0 เขาเล่าว่า ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเรื่องที่ได้ยินมาของหญิงสาวคนหนึ่งที่ว่ากันว่ามีความสวยงาม เป็นนางเงือกที่มายั่วยวนชาวประมง ทำให้ชาวประมงต้องเสียชีวิต จึงเกิดความคิดว่าความสวย

สดงดงามของหญิงสาว เปรียบเสมือนมรณกรรมของมนุษย์ซึ่งได้รักษาธรรมชาติอย่างผิดๆ โดยเฉพาะธรรมชาติในท้องทะเล จึงได้สร้างสรรค์ผลงานด้วยพลาสติก เบาะหนังรีไซเคิล หลอดท่อประปา ผลึกแก้วมหาสมุทร เส้นใยกล้วย และวัสดุอื่นๆ ที่มีความยั่งยืนในประเทศฟิลิปปินส์ ใช้การปักด้วยเทคนิคพิเศษแบบ 3 มิติ เรียงลูกปัดเป็นแนวตั้ง ซึ่งความพิเศษ อยู่ที่การเปลี่ยนวัสดุรีไซเคิลให้เป็นเครื่องประดับแฟชั่น และยังช่วยอนุรักษ์ธรรมชาติในท้องทะเลของประเทศฟิลิปปินส์อีกด้วย

ขณะที่ผลงานรูปแบบชุดสวมใส่ของ Sham Abu Bakar จากมาเลเซีย กับผลงานผ้ามัดย้อมชื่อ Electric Resist Textiles เล่าว่า ผลงานของเขาออกแบบโดยการผสมผสานวัสดุเข้าด้วยกัน ได้แก่ การใช้เทคนิคมัดย้อมสไตล์ Shibori และผ้าบาติกที่สร้างสรรค์ลวดลายด้วยมือ โดยใช้ผ้าที่หลากหลายในการผลิต ไม่ว่าจะเป็น ผ้าฝ้าย voile ผ้าฝ้าย poplin หรือผ้าไหมแก้ว ผสมผสานกับวัสดุต่างๆ เพื่อผลิตผลงานแฟชั่น ที่มีรูปทรงเสมือนผ้าม่านเพื่อการสวมใส่ ใช้เทคนิคบาติกและการมัดย้อมสไตล์ Shibori ในหลากหลายเทคนิค ทั้งการหนีบการมัด การทำผ้าให้มีความระบาย ผลงานมีการใช้เคมี แนฟทอน และเกลือ ในการย้อมด้วยมือบนผืนผ้ายาว 4 เมตร และใช้แว็กซ์ร้อนและเครื่องมือ tjanting ด้วยสีย้อม Remazol ในการสร้างสรรค์ลวดลายบนผ้าบาติกด้วยมือ

นอกจากนี้ ยังมีผลงานของศิลปินท่านอื่นๆ ที่จัดแสดงในนิทรรศการ เข้าชมได้ตั้งแต่วันนี้ ถึง 21 สิงหาคม 2559 เวลา 10.00-18.00 น. ณ อาคารอเนกประสงค์ มิวเซียมสยาม.

บรรยายใต้ภาพ
Sculpture Scarf ผ้าบาติก จาก Djawa Benny  Adrianto ศิลปินชาวอินโดนีเซีย
บรรยากาศนิทรรศการสุดยอดอาเซียน
ผ้ามัดย้อมจากผ้าไหม ผ้าฝ้าย ของ Sham Abu Bakar ศิลปินจากมาเลเซีย
เล่าเรื่องให้เด็กผ่านการทอโบราณลงบนผืนผ้า ผลงานศิลปินไทย คุณจำปี ธรรมศิริ
การสร้างสรรค์เครื่องประดับแฟชั่นจากแนวคิดอนุรักษ์ธรรม ชาติในท้องทะเล โดยศิลปิน Ken Samudio จากประเทศฟิลิปปินส์

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/tpd/2489855

รวมข่าวอาเซียน